วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2562

อนุทินที่3

แบบฝึกหัดทบทวนบทที่ 2


 เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย
   ตอบ   ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก ได้แก่ คณะราษฎร์ เป็นผู้มีอำนาจในการปกครองประเทศในขณะนั้นและมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข   เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกเรียกว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม  พุทธศักราช 2475 ซึ่งเหตุผลของผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามที่ถือเป็นฉบับแรก คือ คณะราษฎร์ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยได้กล่าวไว้ว่า “บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาล นโยบายสามารถนำประเทศของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า” รัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระราชทานรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามตามความประสงค์เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 และประกาศเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 49
           ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา อยู่ในหมวดที่ 2 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยามมาตรา 14 ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ    
2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช  2492  ได้กำหนดอย่างไร  อธิบาย
   ตอบ แนวนโยบายแห่งรัฐซึ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2492 นั้น ได้แบ่งออกเป็น 3 หมวดได้แก่ หมวดที่ 3 หมวดที่ 4 และหมวดที่ 5 โดยมีรายละเอียดดังนี้
         หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย 
         มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาลต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ
          หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
          มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
          หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
          มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
          มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษารัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดา เนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
          มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควรมาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์    
3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511   พุทธศักราช  2517  และ พุทธศักราช  2521  เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
          2517  ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร  อธิบาย 
   ตอบ  แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญในปีพุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และพุทธศักราช 2521 มีความเหมือนกันตรงที่การจัดอบรมชั้นประถมศึกษาของรัฐและเทศบาลโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน

4.  ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490   ประเด็นที่ 2  รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 25492-2517  ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร  อธิบาย 
   ตอบ มีความแตกต่างกันตรงที่ประเด็นที่ 1 ในรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 จะไม่ค่อยบังคับด้านการศึกษาโดยจะให้เสรีในการเลือกตัดสินใจให้เสรีภาพในการศึกษาไม่บังคับอะไรมากมายนัก ส่วนในประเด็นที่ 2 ในรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492-2517  การศึกษาเริ่มเป็นระบบมากขึ้น มีหน่วยงานของรัฐบาลให้ความช่วยเหลือในการศึกษาทั้งในเรื่องของ ทุนการศึกษา  และมีการบังคับให้ศึกษาตามระบบมีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาที่แน่นอนมีการเข้มงวดในเรื่องการศึกษาโดยทางรัฐบาลจะช่วยเหลือด้านเข้าเล่าเรียน 
5.  ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534   ประเด็นที่ 4  รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550  ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร  อธิบาย
  ตอบ     มีความเหมือนกันตรงที่รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมและการฝึกอบรมตามความเหมาะสมและความต้องการของประเทศ การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่างๆบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐย่อมได้รับการคุ้มครอง   
6.  เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็น ธรรมและทั่วถึง  อธิบาย
  ตอบ   รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึงเพราะทุกคนจะต้องได้รับสิทธิและเสรีภาพความเสมอภาคเท่าเทียมกัน เพื่อต้องการให้ทุกคนมีการศึกษาที่เท่าเทียม โดยไม่แบ่งชั้นวรรณะหรือความได้เปรียบเสียเปรียบกัน ซึ่งในการปรับรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของประเทศและตามเศรษฐกิจในยุคนั้นๆ    
7.  เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด “บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมาย บัญญัติ” จงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
  ตอบ   เพื่อต้องการให้บุคคลมีความเสมอภาค มีความเท่าเทียมกันทางด้านการศึกษาพึงได้รับประโยชน์และสิทธิเช่นเดียวกัน เพื่อให้บุคคลเป็นมนุษย์ที่มีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา โดยการได้รับความรู้และการส่งเสริมอย่างทั่วถึง เมื่อมีการกำหนดรัฐธรรมนูญขึ้นมาจะต้องมีหน่วยงานของรัฐและเอกชนมาให้ความช่วยเหลือทางด้านการศึกษาให้ทั่วถึงและความเสมอภาคแก่ปวงประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน หากไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้จะส่งผลให้เกิดความไม่เสมอภาค ความไม่เท่าเทียมและขาดการช่วยเหลือทางด้านการศึกษา
8.  การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหาก เราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม  และถ้าเปิดโอกาสให้ ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร จงอธิบาย   
  ตอบ   ฉบับที่ 5-10  (พ.ศ. 2540-2550)และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นคิดว่าโอกาสที่ประชาชนจะได้รับการศึกษาสูงและได้รับการช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ อย่างทั่วถึงหากมีการเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น จะส่งผลให้คนในประเทศได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกัน และมีความทั่วถึงยิ่งขึ้น เพราะในส่วนของรัฐเอง คงจะไม่สามารถที่จะลงมาให้ความช่วยเหลือกับบุคคลที่อยู่ในส่วนท้องถิ่นได้อย่างเต็มที่ แต่หากมีการกระจายอำนาจให้คนในพื้นที่ได้ช่วยเหลือดูแลกันในด้านการศึกษาจะทำให้บุคคลที่อยู่ในท้องถิ่นได้รับผลประโยชน์ที่ทั่วถึงมากกว่า
9.  เหตุใดการจัดการศึกษา  รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน  ส่งเสริมความเสมอ ภาคทั้งหญิงและชาย  พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว  และความเข็มแข็งของชุมชน  สังเคราะห์ผู้ยากไร้  ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส  จงอธิบาย  
  ตอบ   เพื่อให้ทุกคนในประเทศได้รับความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทุกคน แม้ว่าบุคคลเหล่านั้นจะมีสถานภาพทางสังคมที่ด้อยกว่าผู้อื่น หรือมีวุฒิภาวะที่แตกต่างกันก็ตามทุกคนล้วนมีสิทธิและเสรีภาพ รัฐจึงต้องเข้าไปช่วยเหลือและให้ความคุ้มครอง พัฒนาและส่งเสริมให้มากขึ้นยิ่งกว่าบุคคลปกตินั้นเอง
    
10.  ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน  มีผลต่อการพัฒนาประเทศ อย่างไรบ้าง  จงอธิบาย
  ตอบ     ผลจากการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศคือ ประชาชนได้รับการศึกษา ได้มีความรู้ในการประกอบอาชีพสร้างรายได้ให้คนในชาติ ได้ทำให้ประชาชนมีการเปิดกว้างทางการศึกษาในการพบบุคคลประเทศเพื่อนบ้านเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ที่มี ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติได้จริงมากยิ่งขึ้น ทำให้ได้รับความรู้เชิงประสบการณ์มากกว่าการศึกษาแต่ภายในห้องเรียน
    

วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อนุทินที่2




คำถามท้ายบทที่ 1 

1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ มนุษย์เราจำเป็นต้องมีกฎหมาย เพราะว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่จะต้องมีการอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่คณะ จึงมีความหลากหลายทางปัญญา หลากหลายทางความคิด หลากหลายทางสังคม หลากหลายทางที่มา หลายหลายทางครอบครัว จึงจำเป็นจะต้องมีกฎเกณฑ์กฎหมายหรือข้อบังคับข้อตกลงในการอยู่ร่วมกันเพื่อความเป็นอยู่ในสังคมนั้นๆจะได้มีข้อปฏิบัติตรงกัน กฎหมายจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตเพื่อไม่เกิดความวุ่นวาย หรือเป็นการป้องกันสิ่งอันตรายหรือไม่ดีต่างที่จะเกิดขึ้นในสังคมนั้นๆ รวมไปถึงการจัดระเบียบของสังคมให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น

2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ กระผมคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ไม่ได้หากไม่มีกฎหมาย ซึ่งสังคมปัจจุบันเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยความอันตรายทุกรูปแบบที่ไม่สามารถพูดถึงหรือคาดคิดได้สามารถเกิดขึ้นกับเราได้ตลอดเวลา แค่เพียงว่าจะเกิดกับใครหรือจะมาในรูปแบบไหนเท่านั้นเอง เพราะสังคมปัจจุบันเต็มไปด้วยการแข่งขัน ชิงดีชิงเด่น ต่างหาความสุขของตนเอง เต็มไปด้วยความทุจริต จากข้างต้นหากไม่มีกฎหมาย สังคมจะเต็มไปด้วยความวุ่นวาย หรือไม่มีข้อปฏิบัติที่สามารถยึดเป็นแนวทางการอยู่ในสังคม เพราะทุกสังคมต้องมีข้อปฏิบัติหรือกฎหมายของที่นั้นๆเพื่อลดความวุ่นวายในสังคม
3. ท่านมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ตอบ.      ก. ความหมาย
กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้นๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ
ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
                ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย ประกอบด้วย ประการ คือ
                        1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดอาทิ รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้
                        2. มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์ อาทิ ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ คำแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมาย
                        3. ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้
                        4. มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้นๆ กำหนด หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้ และสภาพบังคับในทางอาญาคือ โทษที่บุคคลผู้ที่กระทำผิดจะต้องได้รับโทษ เช่น รอลงอาญา ปรับจำคุก กักขัง ริบทรัพย์ แต่หากเป็นคดีแพ่ง ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าเสียหายหรือชำระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้กระทำหรืองดเว้นกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามมูลหนี้ที่มีต่อกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้
ที่มาของกฎหมาย
                ที่มาของกฎหมายของประเทศไทย พอที่จะสรุปได้ 5 ลักษณะดังนี้
                           1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร
                           2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย
                           3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุกๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี
                           4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา ซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลังๆ ซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทำไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้ อาจนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้ จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
                           5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้น สมควรหรือไม่ จึงทำให้นักนิติศาสตร์ อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้ ในประเด็นที่น่าสนใจเพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนดังกล่าว
ประเภทของกฎหมาย
การแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย ขึ้นอยู่ใช้หลักใดจะขอกล่าวโดยทั่วๆ ไปดังนี้
1. กฎหมายภายใน
           1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                                     1.1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลัก โดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย
                                     1.1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัต
                       1.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                                     1.2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน สภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ใช้ลงโทษกับผู้กระทำผิดทางอาญา
                                     1.2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง เช่น การกำหนดให้เป็น โมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชำระหนี้ การให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
                        1.3 กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
                                     1.3.1 กฎหมายสารบัญญัติ แบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก
                                     1.3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ กล่าวถึง วิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ
                        1.4 กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
                                     1.4.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน
                                     1.4.2 กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
            2. กฎหมายภายนอก
                        2.1 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐในการที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน
                        2.2 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐต่างรัฐ
                        2.3 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอกประเทศนั้นได้
4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่า ทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
 ตอบ  กฎหมายเป็นสถาบันหนึ่งภายในระบบสังคม มีหน้าที่ในการควบคุมให้สังคมดำเนินไปอย่างสงบสุข ทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย เพราะว่า ทุกประเทศจะมีการปกครองที่แต่งต่างกันออกไปตามสภาพหรือความเป็นอยู่ของสังคมในประเทศนั้นๆ การที่ประเทศนั้นจะปกครองประชาชนอยู่ร่วมกันในสังคมโดยมีข้อปฏิบัติที่อยู่ร่วมกันได้นั้นจึงต้องมี เครื่องมือที่เรียกว่า กฎหมาย เป็นตัวกำหนดการดำรงชีวิตในรูปแบบของสังคมนั้นๆโดยประเทศในยุโรป เช่น อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และประเทศตะวันออก เช่น ไทย ญี่ปุ่น จะใช้กฎหมายระบบซีวิลลอร์ (Civil Law System) ส่วนประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ จะใช้กฎหมายระบบคอมมอนลอร์ (Common Law System)

5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย]
ตอบ  สภาพบังคับในทางกฎหมาย คือ กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ จึงจำเป็นต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์กฎหมายใดไม่มีสภาพบังคับ ไม่เรียกว่าเป็นกฎหมาย
6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ตามกฎหมายอาญา สภาพบังคับก็คือการลงโทษตามกฎหมาย เช่น การจำคุกหรือการประหารชีวิต ซึ่งมุ่งหมายเพื่อจะลงโทษผู้กระทำความผิดให้เข็ดหลาบ แต่ตามกฎหมายแพ่งฯ นั้น สภาพบังคับจะมุ่งหมายไปที่การเยียวยาให้แก่ผู้เสียหายเพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด เช่น การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือการบังคับให้กระทำการตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ ฯลฯ ซึ่งบางกรณีผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายก็อาจต้องต้องถูกบังคับทั้งทางอาญาและทางแพ่งฯ ในคราวเดียวกันก็ได้

7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไรจงอธิบาย
 ตอบ  ระบบกฎหมายเเบ่งออกเป็น 2 ระบบ ดังนี้    
                7.1 ระบบซีวิลลอร์   หรือระบบลายลักษณ์อักษร ถือกำเนิดขึ้นในทวีปยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นระบบเอามาจาก “Jus Civile” ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น คาพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ จะถือเอาคาพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของ นักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่า กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายนี้ 
               7.2 ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษมีรากเหง้ามาจากศักดินา ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคาว่า เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นาเอาจารีตประเพณีและคาพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้

8. ประเภทของกฎหมายมีกี่ประเภท และหลักการอะไรบ้าง แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง จงยกตัวอย่าง พร้อมอธิบาย 
 ตอบ  ประเภทของกฎหมาย ที่จะศึกษาแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 
                   1.  ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
                   2.  ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
                   3.  ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
          1.  ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
                    1.1  ระบบลายลักษณ์อักษร ( Civil law System ) ประเทศไทยใช้ระบบนี้เป็นหลัก  กระบวนการจัดทำกฎหมายมีขั้นตอนที่เป็นระบบ มีการจดบันทึก มีการกลั่นกรองของฝ่ายนิติบัญญัติคือ รัฐสภา มีการจัดหมวดหมู่กฎหมายของตัวบทและแยกเป็นมาตรา เมื่อผ่านการกลั่นกรองจากรัฐสภาแล้ว จะประกาศใช้เป็นกฎหมายโดยราชกิจจานุเบกษา กฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง
                    1.2 ระบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณี ( Common Law System) เป็นกฎหมาย      ที่มิได้มีการจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่มีการจัดเป็นหมวดหมู่ และไม่มีมาตรา หากแต่เป็นบันทึกความจำตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่ใช้กันต่อๆมา ตั้งแต่บรรพบุรุษรวมทั้งบันทึกคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาคดีมาแต่ดั้งเดิม ประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณี หรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ประเทศอังกฤษและประเทศทั้งหลายในเครือจักรภพของอังกฤษ
          2.  ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
                   2.1  กฎหมายสารบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคล กำหนด ข้อบังคับความประพฤติของบุคคลทั้งในทางแพ่งและในทางอาญา โดยเฉพาะในทางอาญา คือ ประมวลกฎหมายอาญา จะบัญญัติลักษณะการกระทำอย่างใดเป็นความผิดระบุองค์ประกอบความผิดและกำหนดโทษไว้ว่าจะต้องรับโทษอย่างไร และในทางแพ่ง   คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  จะกำหนดสาระสำคัญของบทบัญญัติว่าด้วยนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในฐานะต่าง ๆ ตามกฎหมาย เช่น นิติกรรม หนี้ สัญญา เอกเทศสัญญา เป็นต้น
                   2.2  กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงวิธีการปฏิบัติด้วยการนำเอากฎหมายสารบัญญัติไปใช้ไปปฏิบัตินั่นเอง เช่น ไปดำเนินคดีในศาลหรือเรียกว่า  กฎหมายวิธีพิจารณาความก็ได้  กฎหมายวิธีสบัญญัติ    จะกำหนดระเบียบ ระบบ ขั้นตอนในการใช้ เช่น กำหนดอำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ต้องหา วิธีการร้องทุกข์ วิธีการสอบสวนวิธีการนำคดีที่มีปัญหาฟ้องต่อศาล วิธีการพิจารณาคดีต่อสู้คดี ในศาลรวมทั้งการบังคับคดีตามคำสั่ง หรือคำพิพากษาของศาล เป็นต้น กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา    ความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก
          3.  ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
                   3.1  กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่รัฐตราออกใช้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชนการบริหารประเทศ รัฐมีฐานะเป็นผู้ปกครองประชาชนด้วยการออกกฎหมายและให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม จึงตรากฎหมายประเภทมหาชนซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นส่วนรวมทั้งประเทศ และทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีผลกระทบต่อบุคคลของประเทศเป็นส่วนรวม จึงเรียกว่า กฎหมายมหาชน กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายอาญา เป็นต้น
                   3.2  กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ด้วยกันเอง เป็นความสัมพันธ์ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญา คือ เอกชนด้วยกันเอง รัฐไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย เพราะไม่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม  จึงให้ประชาชนมีอิสระกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกรอบของกฎหมายเพื่อคุ้มครอง

9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไรมีการแบ่งอย่างไร
ตอบ  เมื่อกล่าวถึงศักดิ์ของกฎหมาย” (Hierachy of law)  อาจมีหลายคนอาจไม่เข้าใจว่าศักดิ์ของกฎหมายมีความหมายว่าอย่างไร มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหนต่อกฎหมาย โดยทั่วไปในทางวิชาการ มีผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ความหมาย ศักดิ์ของกฎหมายไว้ว่า ลำดับชั้นของกฎหมาย หรืออีกนัยหนึ่งคือ ลำดับความสูงต่ำของกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งความไม่เท่าเทียมกันของกฎหมายแต่ละฉบับนั้น พิจารณาได้จากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย หมายความว่ากฎหมายแต่ละฉบับจะมีชั้นของกฎหมายในระดับนั้น  ให้พิจารณาจากองค์กรที่ออกกฎหมายฉบับนั้น 
          ตัวอย่างเช่น  รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่ออกโดยองค์กรนิติบัญญัติสูงสุดของประเทศ คือ รัฐสภา  แต่บางกรณีอาจมีองค์กรอื่นเป็นผู้จัดให้มีกฎหมายในระดับรัฐธรรมนูญได้ เช่น คณะปฏิวัติออกรัฐธรรมนูญการปกครอง ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว สามารถแบ่งได้ดังนี้ 
                                               1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย                         
                                               2. พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย
                                               3. พระราชกำหนด                                                       
                                               4. ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับ
                                               5. พระราชกฤษฎีกา                                                      
                                               6. กฎกระทรวง
                                               7. ข้อบัญญัติจังหวัด                                                     
                                               8. เทศบัญญัติ
                                               9. ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล

10. เหตุการณ์เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้าและประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบแต่ปรากฏว่ารัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุมและขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบลงมือทำร้ายร่างกายประชาชนในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
ตอบ กระผมคิดว่ารัฐบาลเป็นการกระทำที่ผิด เพราะว่า ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นในการอยู่ร่วมกันในสังคมเพราะทุกคนสามารถเสนอแนวคิดหรือในสิ่งที่ตนเองคิดได้หากความคิดนั้นเป็นความคิดที่สามารถสะท้อนถึงความเป็นอยู่หรือความจำเป็นในการดำรงชีวิตของประชาชนกลุ่มนั้น และการประชุมไม่ได้ทำให้ผู้อื่นเกิดความเดือดร้อนหรือรับความเสียหายอันตรายใดๆ และอีกอย่างเป็นการชุมนุมที่สงบเพื่อเรียกร้องสิทธิของตนเอง  เพราะถ้าผู้นำไม่มีการรับฟังหรือไม่ให้ประชาชนเสนอความคิดเห็นในการปกครองใดๆ สังคมนั้นก็จะขาดซึ่งความสงบสุข ซึ่งสิทธิของประชาชนในรัฐธรรมนูญได้กล่าวไว้แล้ว ดังนี้
           1. สิทธิในครอบครัวและความเป็นอยู่ส่วนตัว ชาวไทยทุกคนย่อมได้รับความคุ้มครอง เกียรติยศ ชื่อเสียง และความเป็นอยู่ส่วนตัว
           2. สิทธิอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณี บุคคลในท้องถิ่นและชุมชนต้องช่วยกันอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณี วัฒนธรรมอันดีงาม ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อรักษาไว้ให้คงอยู่ตลอดไป
           3. สิทธิในทรัพย์สิน บุคคลจะได้รับการคุ้มครองสิทธิในการครอบครองทรัพย์สินของตนและการสืบทอดมรดก
           4. สิทธิในการรับการศึกษาอบรม บุคคลย่อมมีความเสมอภาคในการเข้ารับการศึกษาขึ้นพื้นฐาน 12 ปี อย่างมีคุณภาพและทั่วถึง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
           5. สิทธิในการรับบริการทางด้านสาธารณสุขอย่างเสมอภาคและได้มาตรฐาน สำหรับผู้ยากไร้จะได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
           6. สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองโดยรัฐ เด็กเยาวชน สตรี และบุคคลในสังคมที่ได้รับการปฏิบัติอย่างรุนแรงและไม่เป็นธรรมจะได้รับการ คุ้มครองโดยรัฐ
           7. สิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ เช่น บุคคลที่มีอายุเกินหกสิบปี และรายได้ไม่พอต่อการยังชีพ รัฐจะให้ความช่วยเหลือ เป็นต้น
           8. สิทธิที่จะได้สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ โดยรัฐจะให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะแก่บุคคลในสังคม
          9. สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชน ในการบำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ                      10. สิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่นอย่างเปิดเผย เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลนั้นจะมีผลต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของ ประชาชนส่วนรวม หรือเป็นส่วนได้ส่วนเสียของบุคคลซึ่งมีสิทธิได้รับความคุ้มครอง
          11. สิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์โดยได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลาอันควรตามบทบัญญัติของกฎหมาย
          12. สิทธิที่บุคคลสามารถฟ้องร้องหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรของรัฐที่เป็นนิติบุคคลให้รับผิดชอบการกระทำหรือละเว้นการกระทำ ตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐภายในหน่วยงานนั้น
         
11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่ากฎหมายการศึกษาอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ  กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาในปัจจุบัน เป็นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่กำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษา ถือได้ว่าเป็นกรอบเเนวทางในการปฏิบัติหรือการพัฒนาทางการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการศึกษา การเรียนการสอน หรือด้านบุคลากรเอง หรือการจัดการอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเเละสร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ฉะนั้นกฎหมายการศึกษาจึงเปรียบเสมือนตัวขับเคลื่อนเเละกรอบเเนวทางในการปฏิบัติให้บุคคลทางการศึกษาเเละระบบทางการศึกษาควรระลึกเเละปฏิบัติในเเนวทางที่ถูกต้อง

12.  ในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษา ท่านคิดว่าเมื่อท่านไปประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไร
ตอบ  ฐานะที่เรียนรายวิชานี้ถ้าหากเราเองไม่ทราบกฎหมายทางการศึกษา เช่น ข้อปฏิบัติต่างๆที่ควรกระทำจะทำให้เราเป็นบุคคลที่ขาดซึ่งความรู้ในการปฏิบัติตนที่ขาดซึ่งความเป็นระเบียบหรือข้อปฏิบัติของทางราชการ  ข้อละเว้นการประพฤติปฏิบัติสิ่งที่เป็นข้อห้ามสิ่งที่ไม่ชอบไม่ควร และสิ่งที่ครูต้องปฏิบัติตามความคาดหวังของสังคมในฐานะที่อาชีพครูเป็นอาชีพพิเศษที่ทำหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนศิษย์ให้เป็นคนเก่ง และคนดีในสังคมหรือสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ จำเป็นต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อศิษย์ และสิ่งสำคัญอีกอย่างบางครั้งเราอาจกระทำการใดๆลงไป ที่ไม่เหมาะสมที่ส่งผลกระทบกับบุคคลอื่น ส่งผลถึงภาพลักษณ์ที่ไม่ดีของข้าราชการครู ดังนั้นจำเป็นต้องมีกฎหมายการศึกษามาเป็นข้อปฏิบัติหรือเเนวทางข้อบังคับในการดำเดินงานของบุคคลากรทางการศึกษาเเละมีบทลงโทษสำหรับการทำผิดเพื่อความสงบสุขในการประกอบอาชีพรับราชการครู

อนุทินที่1

ให้นักศึกษาแนะนำตนเอง  
1.ประวัติของตนเอง 
2.อุดมการณ์ความเป็นครูของตนเอง  
3.เป้าหมายของตนเอง

1.ประวัติของตนเอง

     ๑. ชื่อ-สกุล นาย ภัคธรณ์  สังข์ปาน

       ๒. วัน เดือน ปีที่เกิด ๑ พฤษภาคม ๒๕๓๙ อายุ ๒๒ ปี ศาสนา พุทธ

     ๓. ภูมิลำเนา บ้านเลขที่ ๓๒๗/๕ หมู่ที่ ๗ ตำบล/แขวง ร่อนพิบูลย์  อำเภอ/เขต ร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ ๘๐๑๓๐ โทรศัพท์ ๐๙๒ – ๔๐๔๔๕๕๒ 
G-mail: Pakkatornnan@gmail.com

    ๔. ที่อยู่ปัจจุบัน ๔๙๕/๔๙ หมู่ ๑๓ ตำบล/เขต ร่อนพิบูลย์  อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ ๘๐๑๓๐ โทรศัพท์ ๐๙๒ – ๔๐๔๔๕๕๒
 G-mail: Pakkatornnan@gmail.com

       ๕. สถานภาพการศึกษา/อาชีพ
      (๑.) วุฒิได้รับสูงสุด มัธยมศึกษาปีที่ ๖ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๗
              ชื่อสถาบันการศึกษา  โรงเรียนกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช
      (๒.) ขณะนี้กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี แผนก/ คณะ ครุศาสตร์ สาขาพลศึกษา ชั้นปีที่ ๔ 
              รหัสนักศึกษา5881112011 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เกรดเฉลี่ยสะสม 3.60
              สถานที่ตั่ง เลขที่๑ หมู่ ๔ ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง
              จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ ๘๐๒๘๐

      ๖.ความถนัด/จุดเด่น :  นักกีฬากรีฑา (นักกีฬามหาวิทยาลัย)

      ๗. ชื่อบิดา  นายประเทือง สังข์ปาน  อายุ ๕๖ ปี  อาชีพ รับจ้างทาสี

                                
      ๘. ชื่อมารดา  นางอารีย์  คงศรี  อายุ ๕๙ ปี อาชีพ รับซัก อบ รีด



                              
      ๙. มีพี่น้อง จำนวน ๔ คน เป็นบุตรคนที่ ๓
      
      ๑๐.ชื่อผู้ปกครอง  นางอารีย์  คงศรี อายุ ๕๙ ปี อาชีพ รับซัก อบ รีด
          สถานที่ติดต่อ บ้านเลขที่ ๔๙๕/๔๙   หมู่ที่๑๓ ซอย ตลาดเกษตร ถนน –  ตำบล/แขวง        
          ร่อนพิบูลย์  อำเภอ/เขต ร่อนพิบูลย์  จังหวัดนครศรีธรรมราช  รหัสไปรษณีย์ ๘๐๑๓๐
          โทรศัพท์ ๐๙๓-๗๖๘๔๙๐๐


2.อุดมการณ์ความเป็นครูของตนเอง
  เป็นแบบอย่างที่ดีให้ศิษย์ได้เดินรอยตามในทุกๆด้าน และอบรมสั่งสอนให้ศิษย์เป็นดั่งเทียนเล่มน้อยที่คอยส่องแสงให้ศิษย์มองเห็นทางสว่างในชีวิตของตนเองอย่างเต็มความสามารถด้วยจรรยาบรรณความเป็นครู


3.เป้าหมายของตนเอง
3.1 เป้าหมายทางครอบครัว อยากมีครอบครัวที่อบอุ่น ไม่จำเป็นที่จะต้องมีครอบครัว ที่ใหญ่ แต่ขอเพียงแค่อยู่ด้วยกันแล้วมีความสุขตลอดเวลาที่อยู่ด้วยกันโดยมี่ครบพ่อแม่ลูก
3.2 เป้าหมายด้านอาชีพ รับข้าราชการครูพลศึกษา และมีอาชีพเสริมเป็นผู้ฝึกสอนกีฬา และมีร้านขายของชำหรือร้านกาแฟเป็นธุรกิจของตนเอง